วีซ่าฝึกอบรม H3

วีซ่าฝึกอบรม H3 คือวีซ่าสำหรับผู้ยื่นคำร้องขอที่จะเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการชั่วคราวด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้:

  • ฝึกอบรมเพื่อให้ได้รับการฝึกอบรมที่นอกเหนือจากการฝึกอบรมด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหรือทางการแพทย์ซึ่งไม่สามารถฝึกอบรมได้ในประเทศบ้านเกิดของคนต่างชาติ หรือ
  • ผู้เยี่ยมชมการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาพิเศษเพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมแลกเปลี่ยนความรู้พิเศษสำหรับเด็กพิการทางด้านร่ายกาย จิตใจ หรืออารมณ์

ผู้ยื่นขอวีซ่าฝึกอบรม H3 จะต้องได้รับเชิญจากบุคคลหรือองค์กรเพื่อวัตถุประสงค์ในการได้รับการฝึกอบรม, การฝึกอบรมที่นอกเหนือจากการศึกษาต่อ หรือการฝึกอบรมศึกษาทางการแพทย์, การฝึกอบรมในสาขาใด ๆ ทั้งหมดดังต่อไปนี้:

  • การพาณิชย์
  • การสื่อสาร
  • การคลัง
  • รัฐบาล
  • การขนส่ง
  • เกษตรกรรม หรือ
  • วีชาชีพอื่น ๆ

ประเภทของวีซ่าฝึกอบรม H3 ไม่ได้มีไว้สำหรับการจ้างงานสหรัฐอเมริกา วีซ่าฝึกอบรม H3 ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ยื่นคำขอวีซ่าได้รับการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะไปดำเนินการภายนอกประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีโควต้าสำหรับจำนวนวีซ่าฝึกอบรม H3 ไม่เกิน 50 วีซ่าที่อาจได้รับการอนุมัติในหนึ่งปีงบประมาณ

นายจ้างสหรัฐอเมริกาหรือองค์กรสนับสนุนวีซ่าฝึกอบรม H3 จะต้องจัดเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้:

  • รายละเอียดโครงสร้างของโปรแกรมการฝึกอบรม โดยคำอธิบายควรระบุจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมในชั้นเรียนต่อสัปดาห์และจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมที่จะเข้าร่วมในการฝึกปฏิบัติงานต่อสัปดาห์
  • สรุปก่อนการฝึกอบรมและประสบการณ์ของผู้ฝึกอบรม
  • คำอธิบายเหตุที่ผู้ฝึกต้องได้รับการฝึกอบรม
  • คำอธิบายเหตุผลว่าเหตุใดจึงมิอาจฝึกอบรมได้ในประเทศบ้านเกิดของผู้ฝึกอบรม
  • คำอธิบายการฝึกอบรมว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ฝึกอบรมอย่างไรในสายอาชีพที่จะทำภายนอกประเทศสหรัฐอเมริกา
  • คำอธิบายเกี่ยวกับบุคคลที่จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมโดยไม่มีการเรียกร้องการจ้างงานถาวรกับผู้ฝึกอบรม

นายจ้างสหรัฐอเมริกาหรือองค์กรสนับสนุนวีซ่าฝึกอบรม H3 ยังต้องอธิบายข้อมูลอีกดังต่อไปนี้:

  • การฝึกอบรมที่คนต่างชาติจะได้รับ
  • พนักงานและสถานที่ที่จะมีการฝึกอบรม และ
  • การมีส่วนร่วมของผู้ฝึกอบรมในการฝึกอบรม

นอกจากนี้ นายจ้างสหรัฐอเมริกาหรือองค์กรสนับสนุนวีซ่าฝึกอบรม H3 จะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้ฝึกอบรมมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

  • ใกล้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาการศึกษาพิเศษ
  • ได้รับปริญญาในระดับปริญญาตรีในสาขาการศึกษาพิเศษมาแล้ว หรือ

มีประสบการณ์ในการสอนเด็กพิการทางด้านร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์